Loading...
ตำรวจบ้าน ชรบ. อปพร. พกอาวุธปืนได้จริงหรือ
” พกได้ ถ้าตำรวจไม่จับ ! ตามปกติแล้วระเบียบของตำรวจในการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพกปืนเพื่อปฎิบัติหน้าที่นั้นมีอยู่ ไม่ว่าในเรื่องของการผ่อนผันให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบพกปืนได้ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบพกปืนต้องมีใบอนุญาตพกพาจากผู้บังคับบัญชาในหน่วย “
แต่ตำรวจชุมชนหรือตำรวจบ้าน ยังไม่มีกฎหมายใดมารองรับเพียงแต่เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเมื่อเจ้าพนักงานร้องขอ ปัจจุบันนี้ในพื้นที่ต่างๆ ต้องการมวลชนมาช่วยงานเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ โรงพักต่างๆ ก็ต้องจัดให้มีตำรวจบ้านหรือตำรวจชุมชนเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือการที่ให้บุคคลที่กล่าวถึงนั้นพกปืนนี้ อยู่ที่ผู้มีอำนาจหรือผู้กำกับการทุกสถานีที่คอยกำชับให้พกพาหรือใช้ให้ถูกต้อง
ตำรวจบ้านหรือตำรวจชุมชน ระเบียบของตำรวจไม่เอื้ออำนวยให้ออกใบพกพาให้เพราะไม่ใช่ข้าราชการตำรวจ ดังนั้น ใครพกปืนก็ต้องทำเหมือนกับรู้กันกับตำรวจในพื้นที่ ถ้าท้องที่ไม่จับ ก็ไม่มีปัญหา
Loading...
มีหลายท้องที่ที่ใช้กำลังตำรวจบ้านหรือตำรวจชุมชนได้ผล ในการลดอาชญากรรมในพื้นที่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับผู้บังคับบัญชาพวกเขาเหล่านั้นว่าจะฝึกระเบียบวินัยได้มากน้อยขนาดไหน บางคนพอใส่เครื่องแบบแล้วก็บ้าเครื่องแบบ ย้ายบ้านไปอยู่บางกร่าง ก็มีให้สมาชิกเห็นอีกมาก
ชรบ. คือ ชุดรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน ขึ้นตรงกับกำนันตำบลนั้น สามารถพกพาอาวุธได้เฉพาะเวลาออกทำงาน อาวุธที่เราเห็นบ่อยก็คือ ปืนลูกซอง 5 นัด
อปพร. คือ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ขึ้นตรงกับ อบต. หรือเทศบาล นั้นๆ
ทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถพกปืนได้เฉพาะเวลาปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น สามารถใช้วิทยุสื่อสารได้ด้วย
ชรบ. ส่วนมากจะทำงานประมาณว่า ช่วยจำหน้าที่กวาดล้าง (ตั้งด่านตรวจสกัด) ทำงานมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจจะนั่งอยู่ในป้อม คอยดูสถานการณ์ ไม่ต้องลงมือเอง คนพวกนี้จะมีเบี้ยเลี้ยงตอบแทนจากโรงพักที่สังกัดอยู่ แต่จริงๆ แล้วการอาสาเข้ามาทำงานตรงนี้ มีจุดประสงค์หลักๆ คือ
ชรบ. ส่วนมากจะทำงานประมาณว่า ช่วยจำหน้าที่กวาดล้าง (ตั้งด่านตรวจสกัด) ทำงานมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจจะนั่งอยู่ในป้อม คอยดูสถานการณ์ ไม่ต้องลงมือเอง คนพวกนี้จะมีเบี้ยเลี้ยงตอบแทนจากโรงพักที่สังกัดอยู่ แต่จริงๆ แล้วการอาสาเข้ามาทำงานตรงนี้ มีจุดประสงค์หลักๆ คือ
1.คนที่อาสาตั้งใจมาทำงานจริงๆ โดยบริสุทธิ์ใจ ทำงานเพื่อชุมชน
2.คนที่เข้ามาเพื่อหวังผลประโยชน์ เช่น ซื้อปืนสวัสดิการ พกปืนโก้ๆ ใช้วิทยุเท่ๆ
คนประเภทที่ 2 นี้ ชาวบ้านจะเรียกว่า “นายสิบเอ็ด” กล่าวคือ กร่างกว่าตำรวจจริงๆ เสียอีก หรือบางทีก็จะเรียกว่า “ตำรวจพลาสติก” คือเหมือนตำรวจ แต่ไม่ใช่ตำรวจ
ชรบ. หลายคนที่ใช้อาวุธประจำกายขณะปฏิบัติหน้าที่ แพงกว่าตำรวจ ตำรวจใช้ปืนหลวง .38 ในขณะที่ สันติราษฎร์ใช้ กล๊อค26 วิทยุสื่อสารเครื่องเป็นหมื่น บางทีตำรวจอาจจะยืมใช้ก็ได้ เพราะเอาปืนหลวงกับวิทยุไปจำนำ
ถามว่าพกปืนในที่สาธารณะได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ครับ แต่แจ้งจับไปก็เท่านั้นแหล่ะ เดี๋ยวก็เคลียร์กันได้
ดังนั้นการใช้ปืนในการป้องกันตัวของผู้ช่วยเจ้าพนักงานเหล่านี้ในการปฏิบัติหน้าที่ก็ยังจำเป็นอยู่แต่ต้องฝึกให้ดี ต้องถูกกฏหมาย และถ้าเกิดเรื่องขึ้นผู้บังคับบัญชาก็ต้องรับผิดชอบได้ มีอยู่มากเลยทีเดียวที่มวลชนประเภทนี้พอจับกุมผู้มีอิทธิพล หรือคดีใหญ่ แล้วพอผู้บังคับบัญชา ท่านนั้นย้ายออกนอกพื้นที่ แต่พวกเขาเป็นคนในพื้นที่ก็ถูกล้างแค้นที่ไปช่วยกันจับผู้ร้ายไว้ เสียชีวิตกันมาเยอะแยะเล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : thaiammo
Loading...