5 อันดับกระสุนปืนที่นิยมใช้ที่สุดในไทย


Loading...

จัดอันดับจากยอดขายกระสุนทั้งหมดในไทย


อันดับ 5

ปืนเบอร์๑๒ (๑๒ เกจ) เป็นปืนที่มีขนาดกำลังพอเหมาะพอดี มีคนนิยมใช้กันมาก บริษัทต่างๆ ผลิตปืนนี้ออกจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับใช้ในการกีฬายิงเป้า ป้องกันตัว ป้องกันทรัพย์สิน ใช้ล่าสัตว์    ลำกล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๗๒๙ นิ้ว หรือ ๑๘.๕๑ มิลลิเมตร



อันดับ 4

กระสุน.38 Special หน้าตัดกระสุนเท่ากับ 9 ม.ม. แต่มีความเร็วน้อยกว่าและพลังงานปากลำกล้องน้อยกว่า 9ม.ม. ครับ ซึ่งความเร็วของกระสุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด Effect ที่เรียกว่า Hydraulic shock เวลาปะทะกับร่างกายของเป้าหมายทำให้กระสุน 9ม.ม.มีอำนาจหยุดยั้งเป้าหมายสูงกว่า (เอาจริงๆถ้ายิงโดนจุดสำคัญก็ตายได้ทั้งคู่แหละครับ แต่ 9ม.ม.มีอานุภาพรุนแรงกว่า) 

ส่วนถ้าเอา .38 หัวรู กับ 9ม.ม. FMJ มาเทียบกัน ยังไงพลังงานของ 9 ม.ม. ก็มากกว่าอยู่ดี แต่ว่ากระสุน .38 หัวรูเมื่อกระทบเป้าหมายแล้วแบะบานออกย่อมสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อมากกว่าหัวบอลของ 9ม.ม.




อันดับ 3


ขนาด .45 ในอดีต ไม่นานเท่าไหร่ กองทัพอเมริกา ใช้ปืน พก ขนาด .38 ลองโคลท์ วันหนึ่งกองทัพอเมริกา ปะทะ กับ ชนเผ่าชนเผ่า หนึ่งใน ฟิลิปิน ชื่อ ชนเผ่า เมาโร พวกเมาโร วิ่งถือ ดาบมาทหาร อเมริกาไม่รอช้า ชัก .38 ยิง ปรากฏว่ามันไม่ตาย บางคน ยิงจนหมดโม่ 6 นัด ก็ไม่ตาย จากนั้นปรากฏ ทหารอเมริกา ถูกดาบฟันตายวันนั้นก็ไม่น้อย ทั้งที่ตัวเองมีปืน จึงได้มีการจัดหาปืนพก แบบใหม่ โดย ได้แบบใหม่เป็น กระสุนขนาด .45 ใช้กับปืน colt m 1911 กระสุนขนาดใหม่นี้ เรียกได้ว่านัดเดียวจอด



อันดับ 2

9 มม พาราเบลลั่ม (พารา) หรือ 9 มม ลูเกอร์ หรือ 9 คูณ 19 ( .355 นิ้ว )ความเร็วกระสุนประมาณ 1100 ฟุต/วินาทีพาราเบลลั่มเป็นภาษาละตินแปลว่า เตรียมทำสงคราม เป็นที่มาของคำว่า แม้หวังตั้งสงบจงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ ในความหมายแบบไทยไทย 9 มม พารา เป็นกระสุนปืนพกขนาดกลางกลางที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทย กระสุนชนิดนี้เกิดมาได้หลายร้อยปีแล้วน่าจะอยู่ในช่วงปี 1902-1904 โดยมีข้อสันนิฐานว่า จอร์จ ลูเกอร์ ชาว u .s เอากระสุน .30หรือ 7.65 มม   มาพัฒนาใหม่จนเป็น 9 มม พาราเบลลั่ม



อันดับ 1

.22 คือขนาดของลำกล้อง หน่วยเป็นนิ้ว เป็นการระบุว่ากระสุนรุ่นนี้ใช้กับลำกล้องขนาดเท่าไหร่ส่วนตัวอักษรด้านหลังเอาไว้แยกว่าเป็นปลอกกระสุนแบบไหน อาจจะเป็นขนาดหรือชื่อการค้าหรือชื่อเล่นของปลอกกระสุนแต่ละแบบจะมีรูปร่างและความจุดินปืนต่างๆกันไป เนื่องจากมีรูปร่างและดินปืนที่แตกต่างกันจึงใช้ในปืนเดียวกันไม่ได้ ตัวปืนต้องมีการคว้านรังเพลิงมาให้รับกันปลอกกระสุนได้พอดี