Loading...
เอาแค่ 3 อันดับแรก จากตัวเลขของกองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำรวจไว้เมื่อเดือน ต.ค.2558 มีจังหวัดละนับแสนกระบอก
อันดับ 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากร 1,550,000 คน ขออนุญาตใช้ปืนสั้น 66,414 กระบอก ปืนยาว 42,996 กระบอก รวม 109,410 กระบอก อันดับ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร 1,540,000 คน ขออนุญาตใช้ปืนสั้น 63,464 กระบอก ปืนยาว 4,788 กระบอก รวม 108,255 กระบอก และในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีประชากรแค่ 500,000 คน แต่ขออนุญาตใช้ปืนสั้น 32,490 กระบอก ปืนยาว 18,694 กระบอก รวม 51,184 กระบอก นี่ยังไม่รวมปืนเถื่อนหรือไทยประดิษฐ์ผิดกฎหมาย
เรียกว่า ทุกๆประชากรราว 15 คน จะมีอาวุธปืน 1 กระบอก!มันคงเป็นตัวเลขที่ไม่น่ากลัวนัก ถ้าประชาชนจะมีไว้ป้องกันตัวจริงๆ แต่เมื่อดูจากตัวเลขคดีอาชญากรรมที่เกิดจากอาวุธปืนแล้ว ทำให้งานป้องกันปราบปรามของตำรวจยากขึ้น เพราะดูเหมือนปืนจะ
หาง่ายกว่าอาวุธอื่น?
หาง่ายกว่าอาวุธอื่น?
พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ จึงสั่งการให้ บช.ภ.3 บช.ภ.4 บช.ภ.5 และ บช.ภ.8 รวม 35 จังหวัดเป้าหมาย ตรวจสอบผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนอีกครั้ง เน้นไปที่หัวเมืองแหล่งท่องเที่ยว อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
Loading...
ผลการสำรวจพบว่า จ.นครศรีธรรมราช มาแรงแซงโค้งขึ้นมาเป็นอันดับ 1 มีผู้ขออนุญาต 1.2 แสนกระบอก ไม่รู้ว่าใบอนุญาตทำไมถึงคลอดออกมาได้มากมายขนาดนี้!
เลยต้องใช้ไม้ตายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สั่งการไปยังกองบัญชาการที่ดูแลทั้ง 35 จังหวัด ให้ประสานฝ่ายปกครองร่วมกันตรวจสอบผู้ที่ขออนุญาตมีอาวุธปืนว่า มีความจำเป็นขนาดไหน จำนวนปืนที่ครอบครองเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งตรวสอบปืนทั้งหมดว่า ยังอยู่ในความครอบครองของผู้ขออนุญาตหรือเปล่า
และให้ทุกโรงพักใน จ.นครศรีธรรมราช จัดเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อทดสอบอาวุธปืนทุกกระบอก เพื่อนำปลอกและหัวกระสุนมาเก็บเป็นข้อมูล และตรวจเปรียบเทียบกับหลักฐานคดีค้างเก่า
Loading...